วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วัน อังคาร ที่ 4 เดือน ตุลาคม 2554วันนี้ สอบปลายภาค

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วัน อังคาร ที่ 27 เดือน กันยายน 2554วันนี้อาจารย์พูดถึงหลักสูตร การเขียนแผนจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
การพัฒนาเด็กแรกเกิด-5ปี ใช้หลักสูตรปี 2546หลักสูตรเป็นตัวกลางในการจัดประสบการณ์
หลักสูตร คือ ประสบการณ์หลายๆประสบการณ์ให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด-6ปี
มีเนื้อหาของเรื่อง การสอนแบบโครงการ อาจาย์ได้ยกตัวอย่าง เช่น "ครอบครัวของฉัน"
สรุปความรู้ที่ได้จากวิชา
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
*
ความหมาย
*
การบูรณาการ
*
ความสำคัญ
*
การเขียนแผน
*
หลักการจัด
*
การเขียนโครงการ
*
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
*
สาระการเรียนรู้
*
ประโยชน์
*
ประสบการณ์สำคัญ
*
การประดิษฐ์ของเล่น
*
พัฒนาการ
*
ขั้นตอนการเขียนแผน
*
วิธีการเรียนรู้
*
กิจกรรม
*
การประเมินผล
พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ พัฒนาการความสามารถของเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน
เกณฑ์การประเมิน นำแบประเมินมาเทียบกับพัฒนาการเด็กจึงจะได้รู้ว่า เด็กมีพัฒนาการเป็นอย่างไร
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-
สังเกต
-
จำแนก
-
เปรียบเทียบ
ของเล่นวิทยาศาสตร์ จะจัดอยู่ในมุมเสรี
กิจกรรม คือ ตัวกระบวนการในเรื่องของกระบวนการทดลอง การตั้งสมมติฐาน การศึกษานอกสถานที่
การสาธิต
การสาธิต คือ การทำอาหาร การทำของเล่น
การบูรนาการให้เด็กได้คิดการใช้คำถามปลายเปิด การอธิบาย การวางแผน การใช้คำถามเป็นสิ่งจำเป็นมากในเรื่องของวิทยาศาสตร์
การเขียนโครงการ
-
เหตุและผล

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่ 20 เดือน กันยายน 2554วันนี้อาจารย์อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาการเรียนการสอน
1.
หลักสูตร
2.
เนื้อหา/สาระ
3.
เข้าสู่วัน
4.
กิจกรรม 6 กิจกรรม
-
กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายและจังหวะ
-
กิจกรรมกลางแจ้ง
-
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-
กิจกรรมศิลปะ
-
กิจกรรมเสรี
-
เกมการศึกษา
*
อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังจากแผนที่เพื่อนเขียนมาและบอกวิธีแก้ไขให้แก่นักศึกษา ว่าเราควรนำคำคล้องจ้องหรือเพลงมาใช้ ดีกว่าพูดคุยสนทนา
*
วันนี้ก็มีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ เพราะเพื่อนเป็นลม เนื่องจากมีโรคประจำตัว อาจารย์จึงหยุดสอนและพาเพื่อนไปโรงพยาบาล

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วัน อังคาร ที่ 13 กันยายน 2554บรรยากาศสนุกสนาน อากาศในห้อง หนาวมาก ห้องสะอาด
กิจกรรมการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ทบทวนเนื้อหาของหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาการเรียน
สาระ /เนื้อหา-สิ่งที่อยู่รอบตัว - ทำไม เพราะ
-
เป็นสิ่งที่เด็กเข้าใจง่าย
-
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชิวิตประจำวัน
-
ประสบการณ์ในชิวิตประจำวัน
-
เป็นรูปธรรม
การเรียนรู้ หน่วย
-
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก
-
บุคคลและสถานที่
-
ธรรมชาติรอบตัว
-
สิ่งต่างๆรอบตัว
สมรรถนะ 7 ด้าน
1.
ร่างกาย
2.
อารมณ์/จิตใจ
3.
สังคม
4.
สติปัญญา
5.
ภาษา
6.
คณิตฯ
7.
สร้างสรรค์
บูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์กับสาระ
-
ศิลปะสร้างสรรค์
-
เกมการศึกษา
-
การเล่นเสรี
-
การเคลื่อนไหวและจังหวะ
-
กิจกรรมการแจ้ง
-
เสริมประสบการณ์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
การเขียนแผน
วันจันทร์ ลักษณะ รูปร่าง
วันอังคาร แหล่งที่มา
วันพุธ ประโยชน์
วันพฤหัสบดี โทษ
วันศุกร์ การดูแลรักษา/การถนอมอาหาร
ชิ้นงานที่ส่งสัปดาห์หน้า
-
เขียนแผนส่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งหน่วย


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วัน อังคาร ที่ 6 เดือน กันยายน 2554บรรยากาศการเรียนการสอนสนุก สบายๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาดูVDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง แสง
เนื้อหาการเรียน
เรื่อง แสง
แสงเดินทาง 300,000 กิโลเมตร
แสงมีอยู่ 3 วัตถุ
1.
วัตถุโปรงแสง
2.
วัตถุโปรงใส
3.
วัตถุทึบแสง
แสงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
การสะท้อนของแสง มีกระบวนการที่น่าสนใจ
อุปกรณ์
1.
ไฟฉาย
2.
กระจกเงา
วิธีเล่น
*
วางกระจกไว้บนพื้น แล้วเอาไฟฉายส่อง จะเกินแสงสะท้อน ถ้าเราจับไฟฉายเฉียงไปดานขวาและซ้ายแสงจะสะท้อนไปในทิศทางตรงกันข้าม
หลักการหักเหของแสง แสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
1.
เช่น นำเหรียญมาใส่ถ้วยแล้วเทน้ำใส่เพิ่มเรื่อยๆจะเห็นได้ว่า เหรียญจะลอยขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่จริงเหรียญก็ยังอยู่ที่เดิมไม่ได้ลอยขึ้น
2.
เช่น นำหนังสือมากางออกในแนวตั้ง แล้วเอาน้ำใส่แก้วมาส่องที่ตัวหนังสือ สิ่งที่ปารกฏขึ้นคือ ตัวหนังสือจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆถ้าเราเคลื่อนที่ของแก้วออกห่างเรื่อยๆ
การเกิดรุ้งกินน้ำ
รุ้งกินน้ำนั้นเกิดขึ้นจากการหักเหของแสง สีของแสงจะเกิดการเครื่อนที่ต่างกัน
การทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ
นำน้ำใส่แก้ว หลังจากนั้นก็เอากระจกมาวางใส่แก้ว จะเห็นได้ว่า แสงจะเกิดการหักเหจนเกิดเป็นสีรุ้งทั้ง 7 สีนั่นเอง
สรุป
ความรู้เรื่องแสง แสงมีการเดินทาง แสงมีคุณสมบัติในเรื่องของคุณลักษณะ ประโยชน์ และโทษ
การหักเหของแสง สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กได้ทดลองเล่นบ่อยๆ เด็กจะเกิดประสบการณ์ ได้ความรู้เกิดขึ้นมา
อาจารย์สั่งานค้นหาข้อมูล
*
หาหลักสูตร
*
สาระสำคัญ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วัน อังคาร ที่ 30 เดือน สิงหาคม 2554บรรยากาศการเรียน
สนุกสนาน อากาสเย็นสบาย
กิจกรรมการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วัน อังคาร ที่ 23 เดือน สิงหาคม 2554บรรยากาศการเรียนการสอน อากาศเย็นสบายดี บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
กิจกรรมการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำโครงการ กับสิ่งที่เด็กอยากรู้
รายละเอียดของการทำโครงการ
ชื่อเรื่องที่เด็กอยากเรียนรู้ เรื่อง หมวก
หมวก -มีสีอะไรบ้าง
-
มีรูปทรงแบบไหน
-
มีขนาด
-
ราคาเท่าไร
-
มีขายที่ไหน
-
ทำจากอะไร
-
ผลิตมาจากไหน
สถานที่ศึกษาข้อมูล
-
ห้องสมุด
-
ร้านขายหมวก
-
ร้านซ่อมหมวก
-
โรงงานผลิตหมวก
วิธีการ
1.
ไปแหล่งเรียนรู้เพื่อหาข้อมูล ใช้วิธีนั่งรถ หรือเดินสำรวจ สถานที่ขายหมวก
2.
แต่งนิทาน แต่งเพลง เกี่ยวกับหมวก
การนำเสนอ
1.
จัดนิทรรศกาล โดยให้เด็กเป็นผู้แนะนำ
2.
การประดิษฐ์หมวก ตกแต่งหมวก ในลักษณะต่างๆ ให้เด็กอธิบายและให้เด็กประดิษฐ์หมวกให้ดู
3.
เด็กอธิบาย และบอกว่าโลโก้นี้เป็นของใคร
4.
มีแผนที่ของการเดินทาง โดยให้เด็กอธิบายการเดินทาง
5.
เด็กอธิบายส่วนประกอบต่างๆของหมวก
6.
เด็กสามารถอธิบายการซ่อมหมวก ว่าเราสามารถซ่อมหมวกได้อย่างไร
7.
นำเสนอเพลง หมวกแสนสวย โดยให้เด็กมีส่วนร่วมร้องเพลง
8.
นำเสนอนทาน แต่งนิทานหมวกใบน้อยน่ารัก ให้เด็กเล่านิทาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่ 16 เดือน สิงหาคม 2554
บรรยากาศการเรียนการสอน อากาศเย็นสบายดี จัดโต๊ะเป็นระเบียบเรียบร้อย ห้องเรียนสะอาด กิจกรรมการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์นัดส่งงานประดิษฐ์ที่ทำจากขวดน้ำ งานที่ดิฉันส่ง คือ ลูกโป่งกับขวดน้ำ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ของอากาศ เมื่อเราบีบขวดแล้วอากาศที่อยู่ภายในขวดจะถ่ายเทที่อยู่ไปอยู่ที่ลูกโป่ง จึงทำให้ลูกโป่งพองโตด้วยอากาศ เราจะเห็นได้ว่าอากาศมีตัวตนและอากาศนั้นต้องการที่อยู่ อาจารย์ได้เปิดวีดีทัศน์ เรื่องน้ำ น้ำนั้นมี 3 สถานะ
-
สถานะของแข็ง
-
สถานะของเหลว
-
ก๊าซ และน้ำยังสามารถเปลี่ยนสถานะได้ ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร น้ำเมื่อโดนความร้อนของแดดกลายเป็นไอ เรียกว่า ก๊าซ หรือที่เราสามารถมองเห็นเป็นก้อนเมฆ เมื่อก้อนเมฆลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าและลอยไปกระทบกับความเย็นของชั้นบรรยากาศของโลก จึงเกิดการควบแน่นและกลายเป็นเม็ดฝนหยุดลงมา เมื่อฝนตกหยุดแล้วน้ำที่ถูกขังเป็นบ่อเล็กๆตามข้างถนนหายไปไหน เพราะเป็นการระเหยของน้ำ น้ำจะระเหยจากผิวหน้าของน้ำ และถ้ามีผิวหน้าของน้ำกว้างจะทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น เพราะบ่อน้ำเล็กๆตามข้างถนนมีหน้าผิวที่กว้างและมีไม่มีความลึก ทำไม เราสามารถลอยน้ำทะเลได้ดีกว่าน้ำปกติ เป็นเพราะว่า น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำปกติ และเกลือยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถดูดความร้อนได้ เราจึงมักเห็นพ่อค้าขายไอศกรีมน้ำเกลือมาใส่ในถังน้ำแข็ง เพื่อเกลือจะได้ดูดความร้อนและทำให้น้ำแข็งละลายช้าลง งานที่อาจารย์สั่ง อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นจากขวดพลาสติกและได้ร่วมกันคิดหาสิ่งประดิษฐ์ว่าเราจะประดิษฐ์อะไรบ้าง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วัน อังคาร ที่ 9 เดือน สิงหาคม 2554 วันนี้เป็นวันสอบกลางภาคค่ะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วัสดุบางอย่างสามารถลอยน้ำ
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้
แนวคิด
วัตถุบางอย่างสามารถลอยน้ำได้

วัตถุประสงค์

หลังจากทำกิจกรรมนี้เสร็จแล้วเด็กสามารถ
             1. ชี้บ่งวัตถุที่สามารถลอยน้ำได้
             2. อธิบายสาเหตุที่วัตถุลอยน้ำได้
             3. อธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุจมน้ำ

วัสดุอุปกรณ์

   รูปกากเพชรสีสัน และลูกปัด
กิจกรรม

             1. แบ่งเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
             2. แจกวัสดุทั้งหมด ที่กล่าวข้างต้นให้แก่เด็กทุกกลุ่ม
             3. ให้เด็กสังเกตอันไหนที่อยู่ในขวดจะจมก่อนกันและสังเกตอันไหนที่ลอยน้ำได้และจมได้ช้ากว่ากัน

             4. ครูอภิปรายกับเด็ก
 ข้อเสนอแนะ
             1. กิจกรรมนี้ควรให้เด็กเล่นในห้อง
             2. ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรฝึกให้เด็กพับเรือให้เป็นรูปต่าง ๆ ให้ได้ก่อนจะได้ไม่ เสียเวลามาก และเด็กสามารถเห็นความแตกต่างของเรือประเภทต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วัน อังคาร ที่ 25 เดือน กรกฎาคม 2554บรรยากาศในการเรียน
อากาศเย็นสบายดี กิจกรรมการเรียนการสอน
อาจารย์ได้สรุปการทำโครงการทางวิทยาศาสตร์แล้วให้นักศึกษาดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พร้อมกับให้ไปลิ้งค์ลงใน Blogเนื้อหาการเรียนการสอน
*
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เด็กได้ความรู้
-
เด็กได้ทดลอง ลงมือปฏิบัติ
-
แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
สื่อที่ให้ข้อความรู้
-
โทรทัศน์
-
วิทยุ
-
หนังสือพิมพ์
-
แผ่นพับ
กิจกรรมที่ผ่านโครงการ จะต้องมีการทดลองให้เห็น ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้ที่ทำโครงการและผู้ที่มาศึกษาดูงานจะได้ทั้งความรู้ ลงมือปฏิบัติ จากการทดลองทำกิจกรรม
ทักษะการสังเกตหมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือ เหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
*
การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
*
การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
*
สังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
*
ความเหมือน
*
ความแตกต่าง
*
ความสัมพันธ์ร่วม
ทักษะการวัด หมายถึง การให้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณสิ่งของที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
*
รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดกำกับ
*
การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
*
วิธีการที่เราจะวัด
ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การพูด การเขียน วาดภาพ และภาษาท่าทางการแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
*
บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
*
บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
*
บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
*
จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
*
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
*
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
*
ความสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาหมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา สำหรับเด็กปฐมวัย
*
ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ3 มิติ
*
บอกสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
*
บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
*
บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจก
ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวกการลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุการนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง
*
การนับจำนวนของวัตถุ
*
การบวก ลบ คูณ หาร
*
การนำตัวเลขมากำหนดเพื่อบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์