วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วัน อังคาร ที่ 25 เดือน กรกฎาคม 2554บรรยากาศในการเรียน
อากาศเย็นสบายดี กิจกรรมการเรียนการสอน
อาจารย์ได้สรุปการทำโครงการทางวิทยาศาสตร์แล้วให้นักศึกษาดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พร้อมกับให้ไปลิ้งค์ลงใน Blogเนื้อหาการเรียนการสอน
*
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เด็กได้ความรู้
-
เด็กได้ทดลอง ลงมือปฏิบัติ
-
แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
สื่อที่ให้ข้อความรู้
-
โทรทัศน์
-
วิทยุ
-
หนังสือพิมพ์
-
แผ่นพับ
กิจกรรมที่ผ่านโครงการ จะต้องมีการทดลองให้เห็น ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้ที่ทำโครงการและผู้ที่มาศึกษาดูงานจะได้ทั้งความรู้ ลงมือปฏิบัติ จากการทดลองทำกิจกรรม
ทักษะการสังเกตหมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ประสาทสัมผัสทั้ง5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือ เหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
*
การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
*
การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
*
สังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
*
ความเหมือน
*
ความแตกต่าง
*
ความสัมพันธ์ร่วม
ทักษะการวัด หมายถึง การให้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณสิ่งของที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
*
รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดกำกับ
*
การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
*
วิธีการที่เราจะวัด
ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การพูด การเขียน วาดภาพ และภาษาท่าทางการแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
*
บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
*
บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
*
บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
*
จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
*
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
*
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
*
ความสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาหมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา สำหรับเด็กปฐมวัย
*
ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ3 มิติ
*
บอกสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
*
บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
*
บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจก
ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวกการลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุการนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง
*
การนับจำนวนของวัตถุ
*
การบวก ลบ คูณ หาร
*
การนำตัวเลขมากำหนดเพื่อบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

บันทึกการเรียนครั้งที่5

วัน อังคาร ที่ 19 เดือน กรกฎาคม 2554บรรยากาศในการเรียน มีความสนุกสนาน ได้มีการพูดคุย สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้สรุป การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มได้ทำ กลุ่มดิฉันได้ทำกิจกรรม น้ำนมมหัศจรรย์ และอาจารย์ให้สรุปออกมาเป็น Mind map เป็นกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน อุปกรณ์ ผลที่ได้รับ เด็กได้ความรู้อะไรบ้าง เกิดทักษะอะไรบ้าง และหลังจากนั้น เชิญชวนเกี่ยวกับโครงการนี้
บรรยายกาศในการเรียนในวันนี้ มีความสนุกสนานดี มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างสนุกสนานห้องเรียนมีบรรยากาศน่าเรียน อากาศเย็นสบายดีค่ะ สนทนากันเพื่อจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
อากาศเย็นสบายไม่เครียดกับการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของโครงการ ลด ละ เลิก บุหรี่และสิ่งเสพติด เพื่อถวายแต่พ่อหลวงของเรา ครบ 84 พรรษา แล้วให้แต่ละกลุ่มเขียนโครงการออกมา
อาจารย์ได้แต่งเพลงการรณรงค์ เชิญชวนทุกคนให้ ลด ละ เลิก บุหรี่และสิ่งเสพติด
เนื้อหาการเรียนการสอน เพลง
มา มา มา พวกเรามาลด ละ เลิก เล่าเบียร์
บุหรี่และสิ่งเสพติด(ซ้ำ)
เพื่อตัวเราและเพื่อในหลวง

บันทึกการเรียนครั้งที่4

วัน อังคาร ที่ 12 เดือน กรกฎาคม 2554กิจกรรม *นำเสนองานกลุ่ม* กลุ่มที 1 เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้
กลุ่มที่ 2 เรื่อง แนวคิดนักศึกษา
กลุ่มที่ 3 เรื่อง การจัดประสบการณ์
*เนื้อหา*
เรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้ คือ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆได้ ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
การเรียนรู้แบบนี้ คือ การที่บุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการตอบสนองต่างๆ ของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆ ที่มีความเข้มพอที่จะเร้าความสนใจได้ซึ่งการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเป็นผลของประสบการณ์และการทำบ่อยๆ หรือการทำแบบฝึกหัดแสดงให้เห็นว่าเรามีความเข้าใจเบื้องต้นว่าบุคคลได้เรียนอะไรบางอย่างเมื่อพฤติกรรมของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่งนักจิตวิทยาเชื่อว่า เงื่อนไข เป็นกระบวนการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน การวางเงื่อนไขมี 2 อย่างคือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค และการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ผู้คิดคือ อีวาน พาฟลอฟ นักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาทำการทดลองเกี่ยวกับต่อมน้ำลายและต่อมน้ำย่อยของสัตว์ เพื่อการศึกษาระบบย่อยอาหาร พาฟลอฟสังเกตว่าสัตว์จะเริ่มหลั่งน้ำลายเมื่อได้รับอาหาร ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ เขายังสังเกตด้วยอีกว่าสัตว์เริ่มหลั่งน้ำลายทันที เมื่อเห็นผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเข้ามาในห้องนั้น หรือเมื่อมีใครยกจานอาหารของสุนัข มันจะ

บันทึกการเรียนครั้งที่3

วัน อังคาร ที่ 5 เดือน กรกฎาคม 2554วันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแนะนำวิธีการนำเสนองานจาก Power Piont ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่ทำให้ผู้ฟังสนใจผู้นำเสนอ
แล้วให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มไปหากิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยศาสตร์ ว่ามีกิจกรรมอะไร เมื่อได้กิจกรรมแล้วให้นำมาจัดกิจกรรมในห้องเรียน พร้อมกับจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย(จัดกิจกรรมในวันที่ 12 กรกฎาคม 2554)

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วัน อังคาร ที่ 28 เดือน มิถุนายน 2554กิจกรรมการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลง ไอน้ำ แล้วให้ตอบคำถาม 3 ข้อ
*
ฟังเพลงแล้วให้บอกว่าเพลงให้ความรู้อะไรบ้าง
*
เพลงมีความเกี่ยวข้องอะไรบ้างกับวิทยาศาสตร์
*
แล้วเราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กอย่างไร
อาจารย์สั่งงาน
*
ให้นักศึกษาหาความหมายของวิทยาศาสตร์
-
ชื่อหนังสือ - หน้าที่เท่าไร
-
ชื่อผู้แต่ง - โรงพิมพ์
-
วันเดือนปีที่พิมพ์
*
ให้หาความสำคัญของวิทยาศาสตร์
*
ให้หาพัฒนาการทางสติปัญญาแล้วมีความสำคัญกับสมองของคนเราอย่าง
*
สั่งงานกลุ่มพร้อมเตรียมเนื้อหาการนำเสนอในอาทิตย์ต่อไป
มีหัวข้อ ดังนี้
-
จิตวิทยาการเรียนรู้
-
แนวคิดของนักศึกษา
-
หลักการจัดประสบการณ์

บันทึกการเรียนครั้งที่1

วัน อังคาร ที่ 21 เดือน มิถุนายน 2554บรรยากาศในห้องเรียน
*
วันนี้อากาศหนาวมากๆ
*
ในห้องเรียนสะอาด โต๊ะเป็นระเบียบเรียบร้อย
กิจกรรม
*
อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันสรุปความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น โดยที่เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม